วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556


บทความเพื่อการเรียนรู้เรื่อง ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรอง - เสริม(ปุ๋ย+ฮอร์โมน)

ธาตุอาหารคืออะไร
คนเรากินสัตว์และพืชเป็นอาหาร พืชกินแร่ธาตุเป็นอาหาร อาหารของพืช เรียกว่า ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช มีอะไรบ้าง
ธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี ทั้งหมด 16 ธาตุอาหาร 3ธาตุอาหารได้มาจากน้ำและอากาศ คือ ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุอาหาร จะมีอยู่ในดิน และในดินมัก จะขาดธาตุอาหาร เหล่านี้
ธาตุอาหารหลัก
1.ไนโตรเจน ( N ) 2. ฟอสฟอรัส ( P ) 3. โปรแตสเซียม ( K )
ธาตุอาหารรอง
1. แคลเซียม 2. แมกนีเซียม 3. กำมะถัน
ธาตุอาหารเสริม
1. เหล็ก 2.ทองแดง 3. สังกะสี 4.แมงกานีส 5.โบรอน 6.โมลิบดีนั่ม 7. คลอรีน
ปัจจุบันธาตุอาหารทั้ง 13 ธาตุ ที่มีอยู่ในดินมีปริมาณลดลงไปมากแล้ว เกษตรกร จำเป็นต้องหาธาตุอาหารเหล่านี้ เติมให้กับดิน แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรใช้แต่ปุ๋ยเคมีที่มีเฉพาะ NPK ซึ่งมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต ของพืช เมื่อพืชขาดธาตุอาหารก็แสดง อาการผิดปกติออกมาให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นโรคใบไหม้ ใบติด ต้นแคระแกรน ผลบิดๆ เบี้ยวๆ ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจผิด หรือหาสาเหตุไม่เจอว่าเกิดจากอะไร เลยหันไปพึ่ง สารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ พอสารเคมีหมดฤทธิ์พืชก็แสดงอาการผิดปกติออกมาอีก เลยแก้ไข ไม่ได้เสียที นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีต่าง ๆ จะส่งผลให้ดิน เกิดการตึงตัวหรือ ดินเป็นกรด เมื่อดินเป็นกรดทำให้ปุ๋ยที่เกษตรกรใส่ลงไปในดิน พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ย และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยปกติแล้วปุ๋ยสามารถเกิดการสูญเสียได้ 3 ทาง คือ
การระเหย
การพัดพาของน้ำ
การซึมผ่านรากเร็วไป
จากทั้ง 3 สาเหตุนี้เกิดการสูญเสียปุ๋ยประมาณ 80 % ส่วนอีก 20 % ที่เหลือถ้า ดินเป็นกรด ธาตุอาหารก็จะเปลี่ยน สภาพอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรจำเป็นต้องเติมธาตุอาหาร ที่มีแร่ธาตุทั้ง 16 ชนิด ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชโตเร็ว สร้างภูมิต้านทางโรคต่าง ๆ ได้นอก จากนี้ ธาตุอาหารยังมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน แก้ปัญหาดินเสีย ทำให้ดินร่วนซุย และ สามารถยับยั้ง เชื้อราเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่าได้ด้วย เมื่อปัญหา หมดลงจะทำให้พืชทุกชนิดโตเร็ว เพิ่มผลผลิตมากขึ้น ผลกำไรก็มากตามเช่นกัน
ธาตุซิลิกอน ( Si ) มีคุณสมบัติ
ลดการคายน้ำของพืช ช่วยให้แผนกเซลล์พืชแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานของโรคพืช
ธาตุแคลเซียม (Ca) มีคุณสมบัติ
ช่วยส่งเสริมการนำไนโตรเจนมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ช่วยลดหรือปรับสภาพความพอดีของฮอร์โมนพืช
ธาตุแมกนีเซียม ( Mg) มีคุณสมบัติ
ช่วยเสริมสร้างคลอโรฟิลล์
ธาตุเหล็ก ( Fe) มีคุณสมบัติ
ช่วยกระตุ้นการหายใจและการปรุงอาหาร
ธาตุสังกะสี ( Zn ) มีคุณสมบัติ
ช่วยการเจริญเติบโตของตา , ยอด ยึด ข้อ ปล้อง
ธาตุแมงกานีส ( Mn ) มีคุณสมบัติ
ช่วยสังเคราะห์แสง ควบคุมการทำงานของเหล็กและไนโตรเจน
ธาตุทองแดง ( Cu ) มีคุณสมบัติ
สร้างและป้องกันการเสียหายของคลอโรฟิลล์ ช่วยให้พืชดูดธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
ธาตุโมลิบดีนั่ม ( Mo ) มีคุณสมบัติ
ช่วยการทำงานของไนโตรเจน ทำให้พืชสมบูรณ์มากขึ้น
ธาตุโบรอน ( B ) มีคุณสมบัติ
ช่วยกระตุ้นการสร้างคลอโรฟิลล์และน้ำย่อยบางชนิด
ธาตุซัลเฟอร์ ( S ) มีคุณสมบัติ
ช่วยในการหายใจเพื่อให้พลังงาน
ธาตุโซเดียม ( Na) มีคุณสมบัติ
ทำให้การปรุงอาหารของพืชสมบูรณ์
ธาตุซิลเวอร์ ( Ag ) มีคุณสมบัติ
ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหนุนนำการทำงานของไนโตรเจน
ธาตุมะลูมินั่ม ( A1 ) มีคุณสมบัติ
ช่วยหนุนนำการทำงานของแมกนีเซียมและซัลเฟอร์ทำให้กระบวนการหายใจและการปรุงอาหารสมบูรณ์
หมายเหตุ
ธาตุอาหารทั้งหมดมีคุณสมบัติพิเศษมีความเป็นด่างสูง สามารถปรับความเป็นกรดของดินให้เกิดความเป็นกลางได้ และสามารถช่วยดูดซับสารเคมีให้หมดไปจากดินได้ดี แต่ถ้าหากขาดธาตุใดธาตุหนึ่งพืชจะแสดงอาการผิดปกติ ทันที เช่น ใบไหม้ ใบเหลือง ใบแก้ว ใบม้วน ใบติด ลูกร่วง ดอกหล่น ฯลฯ เป็นต้น
สังเกตอย่างไร
เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล
ธาตุ อาหารที่จะเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 19 ธาตุ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมากแบ่งออกได้ 2 พวก คือ
ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ซึ่งหาซื้อได้ในรูปของปุ๋ยวางขายในท้องตลาด ทั่วไป ได้แก่ ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ เช่น 15-15-15 เป็นต้น
ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ซัลเฟอร์ แมกนีเซียม และแคลเซียม
2. ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อยแต่จะขาดเสียมิได้ เพราะถ้าพืชได้รับไม่ เพียงพอจะทำให้ผลผลิต พืชน้อยลง มีคุณภาพไม่ดี เช่นเดียวกับการขาดธาตุอาหารหลักและรองธาตุอาหารเหล่านี้ ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง กำมะถัน โบรอน คลอรีน โมลิบดินั่ม โคบอลท์ ซิลิกา และโซเดียม

ลักษณะอาการได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล
**เกิดขึ้นที่ใบล่างหรือใบแก่
ไนโตรเจน อาการจะแสดงออกที่ใบล่าง โดยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและเหลือง ร่วงหล่นเร็วก่อนกำหนดแล้วลามขึ้นสู่ใบบน
ฟอสฟอรัส ในธัญญาพืชใบจะมีสีเขียวเข้มมีขนาดเล็กต้นแคระแกรน ส่วนพืชอื่น ๆ ใบจะขนาดเล็กสีเขียวเข้มผิดปกติ ต้นเล็กแคระแกรน
โปตัสเซียม ขอบใบเหลืองแห้งตายจากปลายใบเข้าสู่ก้านใบ แมกนีเซียม เนื้อใบเหลือง แต่เส้นกลางใบยังเขียวอยู่
แมกนีเซียม เนื้อใบเหลือง แต่เส้นกลางใบยังเขียวอยู่
** เกิดที่ใบอ่อนหรือส่วนบนของลำต้น
แคลเซียม ใบอ่อนที่ไม่คลี่ฉีกขาดหรือยอดแห้งตาย หรือฐานใบและก้านใบหักแห้งตาย
ซัลเฟอร์ ใบเหลืองเริ่มจากใบยอด พืชชงักการเจริญเติบโต
ทองแดง ใบอ่อนแห้งตายจากยอดสู่ใบล่าง ใบยอดบิดเบี้ยวรูปตัวเอส ผลและลำต้นแตกมียางไหล
แมงกานีส ใบยอด หรือใบอ่อนมีจุดสีน้ำตาล ใบบิดเบี้ยว ใบร่วงก่อนกำหนด บางครั้งใบส่วนกลางลำต้นแสดงอาการใบเหลืองแต่เส้นกลางใบเขียว
เหล็ก ใบยอดสีเหลืองซีด จนเกือบไม่มีสี
โบรอน ยอดอ่อนตายในพืชตระกูลปาล์ม ปลายใบยอดหักงอคล้ายข้อ
โมลิบดีนั่ม ในพืชตระกูลกล่ำ ใบยอดฉีกขาดเป็นช่วง ๆ เหลือแต่เส้นกลางใบ ทำให้มองคล้ายหางเสือเรือ ในพืชตระกูลถั่วใบจะเหลืองเหมือนขาดไนโตรเจน
แมงกานีส ใบล่างเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มเล็ก ๆ เกิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นใบ พืชบางชนิดจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็กด้วย
อลูมิเนียม รากกุดสั้น ใบแสดงอาการคล้ายขาดฟอสฟอรัส
โซเดียม ขอบใบไหม้ และแห้งตาย
คุณสมบัติปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารรอง - อาหารเสริม
- เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยเคมี และช่วยให้ปุ๋ยเคมีออกฤทธิ์ทนนาน
- เสริมสร้างธาตุอาหารรองให้พืช เนื่องจากปุ๋ยเคมี มีเฉพาะธาตุ
หลัก N.P.K เท่านั้น
- เร่งการเจริญเติบโตของต้นพืชทำให้ต้นพืชแข็งแรง ทนต่อโรคพืช
และแมลงรบกวน
- ช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการปลูกพืชทุกชนิด และทำให้ดิน
ร่วนซุ่ย
- พืชที่ขาดธาตุอาหารรอง-เสริม จะทำให้เกิดใบหยิก ใบงอ ใบ
แห้ง ใบเหลือง ลูกร่วง ดอกหล่น ผลแตก
รสชาติไม่ดี ขั้วไม่เหนียว
ส่วนล่างของฟอร์ม

ส่วนล่างของฟอร์ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น